วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์

               คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องมืออุปกรณ์ประเภทอิเล็คทรอนิคส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมต่างๆ สามารถชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายรูปแบบลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์คือมีศักยภาพสูงในการคำนวณประมวลผลข้อมูล
  ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์
              คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์  หมายถึง ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 5 ส่วนคือ

           ส่วนที่ 1 หน่อวยรับข้อมููลเข้า (Input unit ) 
              เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาเชื่อมต่อ ทำหน้าที่ ป้อนสัญญาณเข้าสู่ระบบ เพื่อกำหนดให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ ได้แก่
                               -แป้นอักขระ  (Keyboard)
                               -แผ่นซีดี  (CD-Rom)
                               -ไมโครโฟน  (Microphone) เป็นต้น
           ส่วนที่ 2 หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกะและคณิตาสตร์รวมถึงการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ
           ส่วนที่ 3 หน่วยความ (Memory Unit) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลางแลพเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลแล้วเพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล
           ส่วนที่ 4 หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล หรือผ่านการคำนวณแล้ว
           ส่วนที่ 5 อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ (Peripheal Equipment) เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้มาต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น เช่น โมเด็ม(Modem) แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย เป็นต้น

    ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
1. มีความเร็วในการทำงานสูง สามารถประมวลผลคำสั่งได้รวดเร็วเพียงชั่ววินาที จึงใช้ในงานคำนวณต่างๆได้อย่างรวดเร็ว
2. มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง ใช้แทนกำลังคนได้มาก
3. มีความถูกต้องแม่นยำ ตามโปรแกรมสั่งงานและข้อมูลที่ใช้
4. เก็บข้อมูลได้มาก ไม่เปลืองเนื้อที่เก็บเอกสาร
5. สามรถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน
                                                            ระบบคอมพิวเตอร์
               ระบบคอมพิวเตอร์ หมยถึง กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆกับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้งานมากที่สุด เช่น ระบบเสียภาษี ระบบทะเบียนราษฎร์ ระบบทะเบียนการค้า ระบบเวชระเบียนของโรงพยาบาล เป็นต้น
           การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้โดยการตรวจสอบจากการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                                                            องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
              ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วนดังนี้
1.  ฮาร์แวร์ Hardware หรือส่วนเครื่อง
2. ซอฟแวร์ Software หรือซ่อน
3. ข้อมูล
4. บุคลากร
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ตัวเครื่องแะอุปกรณ์ต่างๆ ที่เราสามรถสัมผัสและจับต้องได้
1. Processor ส่วนประมวลผล
2. Memory ส่วนความจำ
3. Input-Output Devices อุปกรณ์ส่งเข้าส่งออก
4. Storage Device อุปกรณ์เก็บข้อมูล

ส่วนที่ 1 (CPU) เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เปรียบเสมือนสมอง
หน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ประมวลผลและเปรียบเทียบข้อมูลโดยการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดิบและให้เป็นสารภาพ
ส่วนที่ 2 หน่วยความจำ(Memory)
จำแนกออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
2. หน่วยความจำสำรอง  (Secondary storage)
3. หน่วยเก็บข้อมูล
           1. หน่วยความจำหลัก
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ RAM  ROM
1.1. RAM (Random Access Memory)  เป็นหน่วยความจำที่ต้องการอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูล และข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลจะถูกเก็บไว้ชั่วขนะทำงาน ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยควาามจำจะอยู่ได้นานจนกว่าจะปิดเครื่อง
1.2. ROM (Read Only Memory)  เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ข้อมูลที่ไม่ถาวรไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่ป้อนกับวงจร ยอมให้ซีพียูอ่านข้อมูลหรือโปรแกรมไปใช้งานอย่างเดียว เป็นหน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน
            2. หน่วยความจำสำรอง
            หน่วยความจำชนิดนี้มีไว้สำหรับสำหรับสำรองหรืองานกับข้อมูลและโปรแกรมขนาดใหญ่เนื่องจากขนาดของหน่วยความจำหลักมีจำกัด เช่น แผ่นบันทึก (Floppy Disk) จานบันทึกแบบแข็ง (Hard disk) แผ่นซีดีรอม (CD-Rom)
  หน่วยความจำสำรอง
1. ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือสำรองข้อมูลเพื่อใช้ในอนาคต
2. ใช้ในการเก็บข้อมูล โปรแกรมไว้อย่างถาวร
3. ใช้เป็นสื่อในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง
    ประโยชน์ของหน่วยความจำสำรอง
    หน่วยความจำสำรองจะช่วยแก้ปัญหาการสูญหายของข้อมูลอันเนื่องจากไฟฟ้าดับเพราะข้อมูลต่างๆที่ส่งเข้ามาประมวลผล เมื่อเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนำไปเก็บในความจำหลักประเภทแรมหากปิดเครื่องหรือมปัญหาทางไฟฟ้า อาจทำให้ข้อมูลสูญหายจึงจำเป็นต้องมีหน่วยความจำสำรองเพื่อนำข้อมูลจากหน่วยความจำแรมมาเก็บไว้ใช้งานในครั้งต่อไปหน่วยความจำประเภทนี้ส่วนใหญ่จะพบในรูปแบบของสิ่งที่ใช้ในการบันทึกในการตายนอก เช่น ฮาร์ดดสก์ แผ่นบันทึก ชิปดิสก์ ซีดีรอม ดีทีวี เท)แม่เหล็ก หน่วยความจำ แบบเฟลช หน่วยความจำรองนี้ ถึงจะไม่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ยังสามารถทำงานได้
         3. ส่วนแสดงผลข้อมูล
             ส่วนแสดงผลข้อมูลคือส่วนที่แสดงข้อมูลจากสัญญาณไฟฟ้าในหน่วยประมวลผลกลางให้เป็นรูปแบบที่คนเราสามารถเข้าใจได้ อุปกรณ์ที่แสดงผลข้อมูลได้แก่ จอภาพ (Monitor)
เคื่องพิมพ์ (Printer) เครื่องพิมพ์ภาพ (Ploter) และลำโพง (Speaker) เป็นต้น
            บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (Peopleware)
บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นอย่างราบรื่นอาจจะประกอบด้วยคนเพียงคนเดียวหรือหลายคนช่วยกันรับผิดชอบโครงสร้างของหน่วยงานคอมพิวเตอร์
            ประกอบของหน่วยงานคอมพิวเตอร์
1. ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
2. ฝ่ายเกี่ยวกับโปรแกรม
3. ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการ
           บุคลากรในหน่วยงานคอมพิวเตอร์
1. หัวหน้าหน่วยงานคอมพิวเตอร์ (EDP  Manager)
2. หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และวางแผนระบบงาน (System Analyst หรือ SA)
3. โปรแกรมเมอร์ (Progammer )
4. ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer operator)
5. พนักงานจัดเตรียมข้อมูล( Data Entry operator)
      นักวิเคราะห์ระบบงาน
      ทำหน้าที่ทำการศึกษาระบบงานเดิม ออกแบบงานใหม่
      โปรแกรมเมอร์
      หน้าที่นำระบบงานใหมที่นักวิเคราะห์ระบบออกแบบไว้มาสร้างเป็นโปรแกรม
      วิศวกรระบบ
      ทำหน้าที่ออกแบบ สร้าง ซ่อมบำรุงและดูแลรักษาฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์
      พนักงานปฏิบัติการ
      ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติทำหน้าที่ หรือภารกิจประจำวันที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอรื
บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 4 ระดับ
1. ผู้จัดการระบบ (System manger)  คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเช้าของหน่วยงาน
2. นักวิเคราะห์ (System Analyst) คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสมความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์
3. โปรแกรมเมอร์(Progaramer) คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
4. ผู้ใช้งาน(User) คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่องและวิธีการใช้งานโปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ
ซอฟต์แวร์
คือ การลำดับขั้นตอนการทำงานของคำสั่งที่จะทำหน้าที่สั่งคอมพิวเตอร์ว่าทำให้ทำอะไรเป็นชุดของโปรแกรมหลายๆโปรแกรมนำมารวมกันให้สามมารถทำงานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ต้องการ
หน้าที่ของซอต์แวร์
ซอฟต์แวร์ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์ เราไม่สามรถใช้คอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย
ประเภทของซอพต์แวร์
ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
ซอฟต์แวร์ระบบ(System software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์(Application software)
และซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ
1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System software)
     ซอฟต์แวร์ระบบเป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบหน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบ คือ ดำเนินงานพื้นฐานต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์ เช่นรับข้อมูลจากแผงเป็นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจนำข้อมูลไปแสดงผลจอภาพ
     Dos, Windows, Unix, Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่นภาษา Basic, Fortran, Pascal, Cobol, C เป็นต้น
     โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบผ่านเช่น Nortan's Utilies
      หน้าที่ของซอฟแวร์ระบบ
1. ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก เช่น รับรู้การกดแป้นต่างๆบนแผงแป้นอักขระส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์
2. ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เเพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก หรือในทำนองกลับกัน คือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
3. ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การขอดูรายการในสารระบบ directory ในแผ่นบันทึก การทำสำเนาแฟ้มข้อมูลซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็นระบบปฏิบัติการและตัวแปลภาษา
      ประเภทของซอฟต์แวร์ระบบ
ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. ระบบปฏิบัติการ(Operating System : OS)
เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักันดีเช่น ดอส วินโด้วส์ ยูนิกซ์ และแมคอินทอช เป็นต้น
      ดอส Disk Operating System : DOS เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้วการใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษรดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้โครคอมพิวเตอร์ในอดีตปัจจุบันระบบปฏิบัติการดอสนั้นมีการใช้งานน้อยมาก
      วินโดวส์ Windows เป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์ยังสามรถทำงานหลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานแต่ละงานจะอยู่ในขอบหน้าต่างบนจอภาพการใช้งานเน้นรูปแบบกราฟฟิก ผู้ใช้งานสามารถใช้เม้าส์เลื่อนตัวชี้ตัวเลือก
      ยูนิกซ์ Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นเทคโนโลยีแบบปิด (Open System) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้องผูกติดกับระบบหนึ่งหรืออุปกรณ์ที่มีนี่ห้อเดียวกัน
     ลีนุ๊ก Linux เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาจากระบบยูนิกซ์ เป็นระบบซึ่งมีการแจกจ่ายโปรแกรมต้นฉบับให้นักพัฒนาช่วยกันพัฒนาคุณสมบัติของระบบปฏิบัติการระบบปฏิบัติการลีนุกเป็นที่นิยมกันมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่่องจากมีโปรแกรมประยุกต์ต่างๆที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการลีนุกเป็นที่นิยมกันมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากมีโปรแกรมประยุต์ต่างๆที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์จำนวนมาก ระดับลีนุกซ์สามารถทำงานได้บนซีพียูหลายตระกูล เช่น อินเทล(Pc Intel) ดิจิตอล Digital Alpha Computer และซันลปาร์ค Sun sparc ถึงแม้ว่าในขณะนี้ลีนุกซ์ยังไม่สามารถแทนที่ระบบปฏิบัติการวินโดวส์บนซีพียูได้ทั้งหมดก็ตามแต่ผู้ใช้จำนวนมากได้หันมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนลีนุกซ์กันมากขึ้น
    แมคอินทอซ Macintosh เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์แมคอินทอซ ส่วนมากนำไปใช้งานด้านต่างกราฟฟิกออกแบบและจัดแต่งเอกสารนิยมใช้ในสำนักพิมพ์ต่างๆนอกจากระบบปฏิบัติการที่กล่าวมาแล้วยังมีระบบปฏิบัติการอีกมาก เป็นระบบปฏิการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการเน็ตเวิร์ก
     ชนิดของระบบปฏิบัติการจำแนกออกได้ 3 ชนิด
1. ประเภทใช้งานเดียว (Single-tasking)
    ระบบปฏิบัติการประเภทนี้จะกำหนดให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ครั้งละหนึ่งงานเท่านั้น ใช้ในเครื่องขนาดเล็กไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบปฏิบัติการดอส เป็นต้น
2. ประเภทใช้หลายงาน Muti tasking
    ระบบปฏิบัติการรประเภทนี้สามารถควบคุมการทำงานพรอมกันหลายงานในขณะเดียวกัน เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows 98 ขึ้นไป และ Unix เป็นต้น
3. ประเภทใช้งานหลายคน Multi - User
 ใช้หน่วยงานบางแห่งอาจใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่ประมวลผล ทำใหในขณะได้ขณะหนึ่งมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์พร้อมกันหลายคน
2. ตัวแปลภาษา
    การพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูงเพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นทุกภาษาต้องมีตัวแปลภาษาซึ่งภาษาระดับสูงได้แก่ภาษา Basic,Pascal,c  และภาษาโลโก เป็นต้น
   ซอฟต์แวร์ประยุกต์
      ซอฟต์แวร์ประยุกต์(Application Software)
      ซอฟต์แวร์ที่ใช้ทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ทำงานเฉพาะด้าน เช่น การจัดทำบัญชี การตกแต่งภาพ หรือการออกแบบเว็บไซต์ เป็นต้น
      ประเภทของซอฟแวร์ประยุกต์
แบ่งตามลักษณะการผลิต จำแนกได้เป็น 2 ปรพเภทคือ
1. ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เองงโดยเฉพาะ(Proprietary Software)
2. ซอฟต์แวร์ที่หาซื้อได้ทั่วไป (Packded Software) มีทั้งโปรแกรมเฉพาะ (Customized Package) และโปรแกรมมาตราฐาน (Standard Package)
    ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์
    แบ่งตามกลุ่มการใช้งาน จำแนกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
1. กลุ่มการใช้งานทงด้านธุรกิจ Businness
2. กลุ่มการใช้งานด้านกราฟฟิกและมัลติมีเดีย
3. กลุ่มการใช้งานบนเว็บ
    กลุ่มการใช้งานทางธุรกิจ
    ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ ถูกนำมาใช้โดยมุ่งหวังในการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การจัดพิมพ์รายงานเอกสาร นำเสนองาน ตัวอย่างเช่น
โปรแกรมประมวลคำ อาทิ Microsoftword, Sun Staroffice writer
โปรแกรมตารางคำนวณ อาทิ Microsoft Excel, Sun Staroffice Cals
โปรแกรมนำเสนองาน อาทิ Microsoft Powerpoint Sun Staroffice Impress
    กลุ่มการใช้งานทางด้านกราฟฟิก
    ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยจัดการด้านงานกราฟฟิกและมัลติมีเดียเพื่อให้งานง่ายขึ้นเช่นใช้ตกแต่ง วาดรูป ปรับเสียง ตัดต่อ ภาพเคลื่อนไหว ตัวอย่างเช่น
โปรแกรมงานออกแบบ อาทิ Microsoft Visio Professional
โปรแกรมตกแต่งภาพ อาทิ Core IDRAW , Photoshop
โปรแกรมตัดต่อวีดีโอและเสียง อาทิ Adobe Premiere, Pinnacle studio Dv
โปรแกรมสร้างสื่อมัลติมีเดีย อาทิ Adobe Authorware, Toolbook Instructor,Adobe Director
โปรแกรมสร้างเว็บ อาทิ Adobe Flash, Adobe Dreamweaver
      ความจำเป็นของการใช้ซอฟต์แวร์
การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมากเพราะจะเข้าใจและจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษรเป็นประโยคข้อความภาษาในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่าภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง
     ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
      เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงานมนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบการที่บอกสั่งมนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลางถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันแล้วเรามีภาษาที่ใช้ในการติดต่อซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์ต้องการจะถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้
    ภาษาคอมพิวเตอร์ในแต่ละยุคประกอบด้วย
     ภาษาเครื่อง Machine Languages
     เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้าใช้แทนตัวเลข 0 และ 1 ได้ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นำเป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสองนี้ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้เราเรียกเลขฐานที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงาน
     ภาษาแอสเซมบลี (Assenbly Languages)
     เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 2 คัดจากภาษาแอสแซมสีช่วยลดความยุ่งยากลงในการเขียนโปรแกรมเพื่อตัดต่อกับคอมพิวเตอร์
     ภาษาระดับสูง(Aigh - Level Languages)
     เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุกต์ที่ 3 เริ่มมีการใช้ชุดคำสั่งที่เรียกว่า Statements ที่มีลักษณะเป็นประโยคภาษษอังกฤษ ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเข้าใจชุดคำสั่งเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานง่ายขึ้น ผู้คนทั่วไปสามารถเรียนรู้และเขียนโปรแรมได้ง่ายขึ้นเนื่องจากภาษษระดับสูง ภาษาเครื่องมี 2 ชนิด ด้วยกัน คือ
      คอมไพเลอร์ Compiler  และ อินเทอร์พรีเตอร์ Interpreter คอมไพเลอร์จำทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อนแล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น
     อินเตอร์พรีเตอร์ จะทำการแปลทีคำสั่งแล้วให้คอมเตอร์ทำตามคำสั่งนั้นเมื่อเสร็จแล้วจึงมาทำตามคำสั่งนั้นเมื่อทำเสร็จ
    หน่วยที่ 5 โครงสร้างของเครือข่าย
ระบบ Network และ Internet
การทำงานของระบบ Network และ Internet
ดครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. เครือข่ายเฉพาะที่ (Local Area Network : LAN )
    เป็นเครือข่ายที่มักพบเห็นกันในองค์กรส่วนใหญ่ลักษณะของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นวง LAN จะอยู่ในพื้นที่ใกล้ๆ กัน เช่น อยู่ภายในอาคาร หรือ หน่วยงานเดียวกัน
2. เครือข่ายเมือง Melropolitan Area Network : WAN
 เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงที่ใหญ่ขึ้น ภายในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ในเมืองเดียวกัน เป็นต้น
3. เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network : WAN )
 เป็นเครือข่ายที่ใหญ่ขึ้นไปอีกระดับ โดยเป็นการรวมเครือข่ายทั้ง LAN และ MAN มาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายเดียว ดังนั้น เครือข่ายนี้จึงครอบคลุมพื้นที่กว้างโดยการครอบคลุมไปทั่วประเทศหรือทั่วโลก เช่นอินเตอร์เน็ต ซึ่งถือเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ
   รูปแบบโครงสร้างของเครือข่าย Network Topology
   การจัดระบบการทำงานของเครือข่ายมีรูปแบบโครงสร้างของเครือข่าย อันป็นการจัดวางคอมพิวเตอร์และการเดินสายสัญญาณคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายรวมถึงหลักการไหลเวียนข้อมูลในเครือข่ายอีกด้วย โดยแบ่งโครงสร้างเครือข่ายหลักได้ 4 แบบ คือ
          1. เครือข่ายแบบดาว
              เป็นแบบการต่อสายเชื่อมโยงโดยการนำสถานีต่างๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลาง การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วยสลับสายกลาง
    ลักษณะการทำงานของเครือข่ายแบบดาว
    เป็นการชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายรูปดาวหลายแฉกโดยมีการสถานีกลางหรือฮัปเป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย สถานีกลางจึงมีหน้าที่เป็นศูนย์กลางคอยจัดส่งข้อมูลให้กับโหนดปลายทางอีกด้วย
           2. แบบวงแหวน เป็นแบบที่สถานีของเครือข่ายทุกสถานีจะต้องเชื่อมต่อกับเครื่องขยายสัญญาณของตัวเองโดยจะมีการเชื่อมโยงของสัญญาณของทุกสถานีเข้าด้วยกันเป็นวงแหวนเครื่องขยายสัญญาณเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการรับข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเอง
           3. เครือข่ายแบบบัส(Bus network) เป็นเครอข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาวต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยจะมีอุปกรณ์ที่เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิ้ล ในการส่งข้อมูลจะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูได้ในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ
          ลักษณะการทำงานของเครือข่ายแบบบัส
          อุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนดในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า "บัส" Bus เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปให้ยังอีกโหนดหนึ่งภายในเครือข่ายจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าบัสว่างหรือไม่
           4. แบบต้นไม้ (Tree network) เป็นเครือข่ายที่มีการผสมผสานโครงสร้างเครือข่ายแบบต่าง ๆ เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ การจัดส่งข้อมูลสามารถส่งไปถึงได้ทุกสถานี
            การประยุกต์ใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายแบ่งตามลักษณะการทำงาน ได้เป็น 3 ประเภทคือ
1. ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง (Centralized networks)
2. ระบบเครือข่ายแบบ peer-to peer
3. ระบบเครือข่ายแบบ Client / Severe
   1. ระบบเครือข่ายแบบศูนย์กลาง
       เป็นระบบที่มีเครื่องหลักเพียงเครื่องเดียวที่ใช้ในการประมวลผล ตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางและมีการเชื่อมต่อไปยังเครื่องเทอร์มินอลที่อยู่รอบๆ ในการเดินสายเคเบิลเชื่อมต่อกันโดยตรง
   2. ระบบเครือข่าย peer-to peer
       แต่ละสถานีงานระบบเคือข่าย peer-to peer จะมีความเท่าเทียมกันสามารถที่จะแบ่งปันทรัพยากรให้แก่กันได้ เช่น การใช้เครื่องพิมพ์
   3. ระบบเครือข่าย Client / server สามารถสนับสนุนให้มีเครื่องลูกข่ายได้เป็นจำนวนมากและสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายสถานี ทำงานโดยมีเครื่อง Server ที่ให้บริการเป็นศูนย์กลางอย่างน้อย 1 เครื่อง และมีการบริหารจัดการทรัพยากรต่าง ๆ จากส่วนกลาง
                 





































































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น